วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เมื่อ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดแพร่ ( สสจ.แพร่ ) นพ. สุวรรณ เพ็ชรรุ่ง นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดแพร่ มอบหมายให้ รองเด่น ปัญญานันท์ เภสัชกรเชี่ยวชาญ ( ด้านสาธารณสุข) รองนายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดแพร่ ประธานเปิดการประชุมคัดเลือก แต่งตั้ง ประธาน อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านระดับ จังหวัดแพร่ ( ประธาน อสม. จ.แพร่) ประจำปี 2567 จากการโหวตเสียงของสมาชิก อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน จังหวัดแพร่ ทุกอำเภอ ผลการคัดเลือก ประกอบด้วย 1 นายมรกต ชมพูวัง ประธาน อสม. จ.แพร่, 2 นายอานนท์ เขยฟู รองประธานคนที่ 1, 3 นายไพรัช ปลอดโปร่ง รองประธานคนที่ 2, 4 นางทองใบ พวงมณี กรรมการ, 5 นายประดิษฐ์ อินดี กรรมการ, 6 นายเศวต สันป่าเป้า กรรมการ, 7 นายผดุง ข้ามสาม กรรมการและเลขานุการ และ 8 นางสมศรี ภูวัง กรรมการและเหรัญญิก คณะกรรมการชุดใหม่ ที่ได้รับการแต่งตั้ง จาก สำนักงาน สาธารณสุข จังหวัดแพร่ ( สสจ.แพร่) นิยามคำว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดแพร่ ( อสม.) ทุกหมู่บ้าน ทุกอำเภอ อสม.ทุกพื้นที่ทำงานด้วยจิตใจอาสา เริ่มแรก สมาชิก อสม.ทั่วประเทศ ไม่มีค่าตอบแทน แต่ทุกท่านที่เข้าเป็น อสม.เพราะด้วยจิตวิญญาณที่เสียสละ ด้วยความมุ่งมั่นในอุดมการณ์ ที่ผ่านมาทั่วโลกต้องต่อสู้กับโรคร้ายคือโรคระบาดติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ประเทศไทย เราแม้แต่อนามัยโลก ยังทึ่งในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดการติดเชื้อโรคดังกล่าวและป้องกันได้ดีเป็นที่ยกย่องไปทั่วโลก ก็เพราะเป็นการวางแผน และมีสมาชิก อสม.ทั่วประเทศ ปฎิบัติตามผู้บังคับบัญชาคือ สาธารณสุข ในแต่ละจังหวัด และตามระดับชั้น จนนำสู่ความสำเร็จของการป้องกันโรคดังกล่าวจนเจือจางหายไป ตามสถานการณ์ ในปัจจุบัน สมาชิก อสม.ทั่วประเทศ มีค่าตอบแทนไม่มากนักแต่ทุกชีวิตของสมาชิก อสม.หัวใจ คือประชาชน ในแต่ละพื้นที่ ในจังหวัดแพร่ มีสิ่งหนึ่งที่จะตามมา คือ มีผู้ที่แอบอ้างการจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจ สงเคราะห์ อสม.จังหวัดแพร่ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ในอนาคตจะนำพาองค์กรดังกล่าวล่มสลายได้ เพราะไม่เข้าสู่ระบบและถูกต้องตามกฎหมาย พ.ร.บ.ฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2542 สมาชิก อสม.จังหวัดแพร่ ที่ไม่ตรวจสอบหรือสมัครเป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ อสม. จ.แพร่ แล้วแต่ไม่ทำความเข้าใจกับการจัดตั้ง สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ อสม. ระดับอำเภอและระดับ จังหวัดแพร่ ให้ท่องแท้และหาข้อมูลในด้านเอกสาร จะเป็นแหล่งให้กับผู้ก่อตั้งองค์กร ดังกล่าวขึ้นมา โดยอาศัยองค์กรรัฐ คือ สสจ.หรือ สสอ.ในแต่ละอำเภอแต่ละจังหวัด จะต้องมีการตรวจสอบทุกพื้นที่ คือ พมจ.จังหวัด ในแต่ละจังหวัดองค์กรดังกล่าวตั้งอยู่ในพื้นที่ไหน เช่น เทศบาลนั้นๆ นายกเทศบาล หรือใน อบต. นายก อบต.นั้นๆ จะต้องตรวจและเรียกองค์กรดังกล่าว เพราะท่านเป็นนายทะเบียนโดยตำแหน่งตามกฎหมาย จะปฎเสธ หรือไม่รู้ ไม่เห็น ไม่มาสอบถามและตรวจสอบ ของการจัดตั้งสมาคมฯดังกล่าว ระวังเกิดเรื่องขึ้นมา มีสมาชิกที่เสียผลประโยชน์ ไปแจ้งความ ท่านจะต้องถูกตั้งข้อกล่าวหา มาตรา 157 ทุกวันนี้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นทุกพื้นที่ แต่ผู้ที่มีอำนาจ หรือฝ่ายบริหาร ในพื้นที่ไม่สนใจและตรวจสอบ ปล่อยการดำเนินการขององค์กร หลากหลายองค์กรที่ไม่เข้าสู่ระบบ พ.ร.บ.ฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2542 จึงมีการหาผลประโยชน์ ให้กับตัวเองและพวกพ้อง กับเม็ดเงินมหาศาล เสมือนนำเอาความทุกข์ของผู้คนที่หลงผิดกับองค์กรนี้มาซ้ำเติมเข้าไปอีก ถึงแม้จะนำเม็ดเงินที่นำไปช่วยเหลือตามข้อผูกพันธุ์ ที่ได้ร่างกฎระเบียนแบบทำเอง ชงเอง ไม่นำกฎระเบียบ พ.ร.บ.ฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2542 ขึ้นมา นั้นคือประเด็นของการหาผลประโยชน์กับการจัดตั้งสมาคมฯขึ้นมา การไม่เข้าสู่ระบบฯ ก็ถือว่าไม่ถูกต้องและเอาเปรียบผู้ที่ไม่รู้และไม่ได้ศึกษาข้อกฎหมายให้ทั้งข้อดีและ ข้อเสีย พอเกิดเหตุการณ์ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก นี่คือประเด็นที่ หนังสือพิมพ์ ธุรกิจแพร่-ออนไลน์ ได้รับการร้องเรียนและให้เข้าทำการตรวจกับหน่วยงานภาครัฐ ที่มีอำนาจให้เข้าทำการตรวจสอบ จึงเชื่อแน่ว่าจะมีประเด็นดังกล่าวเกิดขึ้นทุกพื้นที่และทั่วประเทศ